ข้อมูลจังหวัดสงขลา

จังหวัดสงขลา เป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมืองท่าและเมืองชายทะเลที่สำคัญของประเทศไทย มีประชากรหลายเชื้อชาติเข้ามาอาศัยอยู่ร่วมกันไม่ว่าจะเป็นจีน มาเลย์ และไทย จึงทำให้มีขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาที่หลากหลายและการละเล่นพื้นเมืองที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษตกทอดให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษามากมาย

ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดสงขลาตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของภาคใต้ตอนล่าง มีพื้นที่ ๗,๓๙๓.๘๘๙ ตารางกิโลเมตรหรือ ประมาณ ๔,๖๒๑,๑๘๐ ไร่ มีอาณาเขต ดังนี้

ทิศเหนือ
ทิศตะวันออก
ทิศใต้
ทิศตะวันตก
การปกครอง
ติดต่อกับจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดพัทลุง
ติดต่อกับอ่าวไทย
ติดต่อกับจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี รัฐเคดาร์ และรัฐเปอร์ลิสของมาเลเซีย
ติดต่อกับจังหวัดพัทลุง และจังหวัดสตูล

จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย ๑๖ อำาเภอ ๑๒๗ ตำาบล ๑,๐๒๓ หมู่บ้าน ๔๘ เทศบาล ๙๒ องค์การบริหารส่วนตำบล

คำขวัญ

คำขวัญประจำจังหวัดของจังหวัดสงขลาในปัจจุบันคือ “นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า ศูนย์การค้าแดนใต้”

ซึ่งเปลี่ยนมาจากคำขวัญเมื่อจังหวัดสงขลาเป็นเจ้าภาพกีฬาแห่งชาติ คือ “นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า เฟื่องฟ้าสุดสวย ร่ำรวยธุรกิจแดนใต้”

และคำขวัญท่องเที่ยวครั้งแรกเมื่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยออกแคมเปญ Visit Thailand คือ “นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานติณ ถิ่นธุรกิจแดนใต้”

ดูเอกสารฉบับเต็มได้ที่นี่
ประชากรเพศชาย
0
ประชากรเพศหญิง
0
ประชากรในจังหวัดสงขลา
0
จำนวนครัวเรือน
0

ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด

วิสัยทัศน์
“สงขลา ศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคใต้ ประชาชนมีคุณภาพ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน”

พันธกิจ

  1. พัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมเกษตร เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคใต้
  2. พัฒนาสงขลาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประชาชนมีคุณภาพ
  3. จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นฐานการผลิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  4. พัฒนาสงขลาให้ประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัย

ประเด็นยุทธศาสตร

  1. พัฒนาภาคการเกษตร อุตสาหกรรม การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและบริการโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน
  2. พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนบนฐานความรู้และพหุวัฒนธรรม
  3. อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  4. เสริมสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสงขลา ปี ๒๕๖๑ มีมูลค่าเท่ากับ ๒๔๘,๓๘๖ ล้านบาท มีขนาดเศรษฐกิจ เป็นอันดับ ๑ ของภาคใต้ และเป็นอันดับที่ ๑๓ ของประเทศ มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ซึ่งมีมูลค่า ๒๑๒,๕๔๐ ล้านบาท อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ปี ๒๕๖๑ ขยายตัวร้อยละ ๓.๖ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัวเท่ากับ ๑๕๑,๙๑๘ บาท/คน/ปี เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๖๐ ซึ่งมีรายได้ ๑๕๐,๐๐๙ บาท/คน/ปี เป็นอันดับที่ ๒๓ ของประเทศ เป็นอันดับที่ ๖ ของภาคใต้ และเป็น อันดับที่ ๓ ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย

โครงสร้างเศรษฐกิจจังหวัดสงขลา ขึ้นอยู่กับสาขาอุตสาหกรรมเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนร้อยละ ๒๐.๕ สาขาการผลิตที่มีความสำาคัญรองลงมา ได้แก่ สาขาการขายส่งขายปลีก มีสัดส่วนร้อยละ ๑๒.๕ สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้และการประมง มีสัดส่วนร้อยละ ๑๒.๔ เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนโครงการผลิต ในปี ๒๕๖๑ พบว่าเปลี่ยนแปลงจากปี ๒๕๖๐ คือจากเดิม สาขาการผลิตที่สำาคัญ ๕ อันดับแรก ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ขายส่งขายปลีก เหมืองแร่และเหมืองหิน และสาขาการศึกษา สำาหรับ ปี ๒๕๖๑ สาขาการผลิตที่สำาคัญ ๕ อันดับแรก ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรม ขายส่งขายปลีก เกษตรกรรม เหมืองแร่และเหมืองหิน และสาขาการศึกษา

โครงสร้างเศรษฐกิจจังหวัดสงขลาขึ้นอยู่กับ สาขาอุตสาหกรรม เป็นหลัก โดยกิจกรรมการผลิตที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมต่อเนื่องกับยางพารา และอุตสาหกรรมแปรรูปและถนอมสัตว์น้ำ

ปี ๒๕๖๑ เศรษฐกิจจังหวัดสงขลา ขยายตัวร้อยละ ๓.๖ สะท้อนจากสาขาการผลิตหลัก โดยสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงขยายตัวร้อยละ ๑๐.๘ ในขณะที่สาขาการผลิตอุตสาหกรรม และ สาขาการขนส่ง ขายปลีกหดตัวร้อยละ ๖.๙ และ ๓.๐ ตามลำดับ

จังหวัดสงขลามีด่านชายแดนที่สำาคัญ จำานวน ๓ ด่าน โดยข้อมูลปี ๒๕๖๒ สรุปได้ดังนี้

  • ด่านศุลการกรสะเดา มูลค่าการค้ารวม ๓๖๔,๔๙๒.๔๓ ล้านบาท นำาเข้า ๒๑๑,๖๘๗.๖๐ ล้านบาท ส่งออก ๑๕๒,๘๐๔.๘๓ ล้านบาท
  • ด่านศุลกากรปาดังเปซาร์ มูลค่าการค้ารวม ๑๖๖,๙๙๔.๗๖๒ ล้านบาท นำาเข้า ๖๒,๖๔๑.๒๙๒ ล้านบาท ส่งออก ๑๐๔,๓๕๓.๔๗๐ ล้านบาท
  • ด่านศุลกากรบ้านประกอบ มูลค่าการค้ารวม ๑,๕๒๘.๕๗๙ ล้านบาท นำาเข้า ๒๐.๕๔๕ ล้านบาท ส่งออก ๑,๕๐๘.๐๓๔ ล้านบาท
ข้อมูลการเงินปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
ปริมาณเงินฝากรวม
ปริมาณสินเชื่อรวม
๒๓๖,๗๒๗.๕
๒๕๖,๔๔๗.๙
ล้านบาท
ล้านบาท
ข้อมูลการคลัง ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
รายได้จัดเก็บ
รายจ่ายงบประมาณ
๑๖,๕๗๕.๔
๒๙,๘๕๔.๘
ล้านบาท
ล้านบาท

จังหวัดสงขลามีนโยบายและแนวทางในการส่งเสริมด้านการกีฬาภายในจังหวัด โดยมีการกำหนดวาระสงขลา : สงขลาเมืองกีฬา ซึ่งมุ่งเน้นการส่งเสริมกีฬาในระดับนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ประชาชน และกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุ การจัดกิจกรรมกีฬาระดับนานาชาติเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการ
ประชาสัมพันธ์จังหวัด การพัฒนานักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ และมีการพัฒนาต่อยอดไปสู่การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ กีฬาแห่งชาติ กีฬาคนพิการแห่งชาติ และกีฬาผู้สูงอายุแห่งชาติ และการพัฒนากีฬาเพื่อก้าวสู่ระดับ
อาชีพ ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมให้เยาวชน และประชาชนในพื้นที่หันมาเล่นกีฬาทุกประเภทกีฬาอย่างชัดเจนและต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๒ จังหวัดสงขลาได้รับคัดเลือกจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้เป็นเป็นเมืองกีฬา (Sport City) ประเภทที่ ๓ ด้านกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ (Sports for Excellence)ตามแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ ๖ (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ซึ่งจังหวัดสงขลามีความพร้อมทั้ง สนามกีฬา ที่มีมาตรฐานระดับนานาชาติ คือ สนามกีฬาติณสูลานนท์ ความจุ ๔๕,๐๐๐ ที่นั่ง อีกทั้งยังมีศูนย์บริการการกีฬา ที่เป็นมาตรฐาน และความพร้อมด้านต่าง ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดนักกีฬา
ที่มีความเป็นเลิศ ไปสู่การกีฬาเพื่อการอาชีพอย่างเต็มตัว สามารถสร้างรายได้จากความรู้ความสามารถทักษะและประสบการณ์ ขณะเดียวกันยังส่งผลให้ได้รับจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในการเก็บตัวฝึกซ้อมสำาหรับนักกีฬาชาวต่างชาติ และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาที่จะสร้างรายได้ให้กับจังหวัด และประเทศอีกด้วย

สถานการณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา

จำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากนักท่องเที่ยวจังหวัดสงขลาปี พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๒

 

ที่มา : กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

๕ อันดับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามายังจังหวัดสงขลา

ปี ๒๕๖๐ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย จีน และ ญี่ปุ่น

ปี ๒๕๖๑ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และ ฟิลิปปินส์

ปี ๒๕๖๑ นักท่องเที่ยวมีอัตราการพักค้างคืนเฉลี่ยอยู่ที่ ๒.๕๘ วัน และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ ๓,๘๘๐.๒๔ บาท/คน/วัน

จังหวัดสงขลามีแหล่งท่องเที่ยวทั้งหมด ๘๗ แห่ง

  • แหล่งท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จำนวน ๒๗ แห่ง
  • แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น จำนวน ๖๐ แห่ง

อุทยานในจังหวัดสงขลา

  • วนอุทยานควนเขาวัง จำานวนนักท่องเที่ยวเฉลี่ยต่อปี ประมาณ ๖,๐๐๐ คน
  • วนอุทยานนำ้าตกบริพัตร จำนวนนักท่องเที่ยวเฉลี่ยต่อปี ประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน
  • อุทยานนกน้ำคูขุด จำนวนนักท่องเที่ยวเฉลี่ยต่อปี ประมาณ ๖,๐๐๐ คน
  • อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง จำนวนนักท่องเที่ยวเฉลี่ยต่อปี ประมาณ ๖,๐๐๐ คน
  • อุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรี จำนวนนักท่องเที่ยวเฉลี่ยต่อปี ประมาณ ๓,๐๐๐ คน

หมายเหตุ : นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มศึกษาดูงาน / นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางมาในช่วงฤดูร้อน

ข้อมูลที่พัก (จำนวนสถานพักแรม (หน่วย : แห่ง)

* จำนวนโรงแรม/ที่พัก (ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย) จำานวน ๑๙๒ แห่ง
* จำนวนห้องพัก ๑๐,๓๔๗ ห้อง

ที่มา : ข้อมูลจากที่ทำการปกครองจังหวัดสงขลา

พันธมิตรหอการค้าจังหวัดสงขลา

หอการค้าจังหวัดสงขลา

หอการค้าจังหวัดสงขลา

The Songkhla Chamber of Commerce

สำนักงาน

29 ถ.โชติวิทยะกุล4 ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 17.00 น.

© 2021 The Songkhla Chamber of Commerce. ALL RIGHTS RESERVED.